วันเสาร์ที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2554

รายละเอียดบัญชี School รุ่น 6

- ธนาคารกรุงไทย สาขา เดอะมอลล์ นครราชสีมา
- บัญชีเลขที่ 398-0-36262-0
- ชื่อบัญชี นายวิโรจน์ คูสุวรรณ,นาง จงกลกร ผาสุขมูล,นางชนิกานต์ โสภาพิศ

18 ความคิดเห็น:

supasak กล่าวว่า...

ข้อมูลสถานที่ดูงานด้านการเรียนของนักเรียนในประเทศมาเลเซีย ที่มีผู้ไปดูงานมาแล้ว

http://neungsangtien.exteen.com/20111003/entry

ประวัติและผลงานทางการศึกษาของโรงเรียน ซึ่งตั้งอยู่ใจกลางเมืองกัวลาลัมเปอร์ เป็นโรงเรียนระดับประถมศึกษาของรัฐบาล (Primary School) ที่เปิดสอนตั้งแต่ประถมศึกษาปีที่ 1-6 มีครู 69 คน นักเรียน 1,047 คนรับนักเรียนอายุตั้งแต่ 7 ปีขึ้นไป ใช้อักษรย่อ SK.SBS.



จะมีโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาอยู่ถัดไป นักเรียนที่เรียนจบชั้นประถมศึกษา จะถูกส่งเข้าเรียนต่อในโรงเรียนแห่งนั้น ระบบการจัดการในโรงเรียน(การบริหาร) คือ Teaching Learning & Management เป็น A Smart School การสอนและการใช้ภาษากับนักเรียน เนื่องจากนักเรียนมีเชื้อชาติหลายเชื้อชาติ จึงต้องใช้ภาษาอังกฤษภาษามาเลเซีย อาหรับ อินเดีย ฯลฯ การแต่งกายของนักเรียนในระดับประถม ศึกษา ใช้เหมือนกันทั่วประเทศ การสอนในระบบนักเรียนเป็นศูนย์กลาง (Student Center) การสอนให้เก่ง ฉลาดและมีปัญญาไว (Smart) และการเรียนรู้ เน้นทักษะความคิดอย่างมีเหตุผล มีการทำปฏิกิริยาในเชิงบวกและเป็นการทำงานร่วมกันระหว่างครูกับนักเรียน และนักเรียนกับนักเรียน ที่เหมาะสมกับความต้องการเรียนรู้ของพวกเขา เข้าถึงทรัพยากรข้อมูลข่าวสารทาง Internet และกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง การเข้าถึงไอที สามารถอ่านและเขียนหนังสือได้ มีการทำงานแบบความร่วมมือและการมีส่วนร่วม ด้านวิสัยทัศน์ของโรงเรียน (School Vision) ได้แก่ Success (ความสำเร็จ) Excellent (ความดีเป็นเลิศ) Accede (การยอมทำตาม) แรงบันดาลใจของโรงเรียน (School Motive) ผลิตนักเรียนให้มีความรู้ มีความประพฤติที่ดี และสามารถช่วยเหลือครอบครัว,ศาสนา,ประชาชาติและประเทศ

supasak กล่าวว่า...

(ต่อ)
ภารกิจของโรงเรียน(School Mission) พยายามให้เข้าใจวิสัยทัศน์ผ่านภารกิจโรงเรียนดังนี้

1.ผลิตนักเรียนให้สามารถอ่านและเขียนหนังสือได้ รวมถึงข้อมูลข่าวสารและเทคโนโลยี

2.ให้เป็นคนที่มีคุณภาพในการเรียน 100 % ผ่าน KPSR.

3.ผลิตนักเรียนให้มีสุขภาพจิตและทางกายภาพ มีความคิดและความฉลาด

4.ให้นักเรียนเป็นคนดี มีความประพฤติอย่างมีคุณค่าและมีศีลธรรมสูง

5.ทำให้เกิดความเข้าใจระหว่าง PIBG กับบุคคลภายนอก

การเรียน เปิดสอนตั้งแต่เวลา 7.00 น. เรียนครึ่งวันถึงเที่ยง ตอนบ่ายให้อยู่ช่วยผู้ปกครองที่บ้าน นักเรียนของโรงเรียนแห่งนี้ มีค่อนข้างมาก ครูจึงสอนเป็นผลัดเช้าและบ่าย มีข้อถามเล็กๆ น้อยๆ จากพวกเรา(ที่ถนัดภาษาอังกฤษมากกว่าเพื่อนอยู่บ้าง ขอบคุณที่ถามแทน) ร้อนถึงไกด์ของพวกเรา เลยต้องทำหน้าที่เป็นล่ามไปในตัว เพราะสำเนียงภาษาอังกฤษ ระหว่างมาเลเซียปนจีน กับไทยปนอีสาน ฟังสำเนียงกันและกันไม่ค่อยจะรื่นหูนัก ก็ได้คำตอบและเข้าใจพอสมควร เมื่อถามว่า ทางโรงเรียนมีวิธีสอนทางด้านภาษาอย่างไร (แหม..ก็เขาเกิดมาก็อยู่กับภาษาอังกฤษอยู่แล้ว...มีผู้อยู่ข้างๆ ให้คำตอบแทน) ได้รับคำตอบจากครูผู้รับผิดชอบในการสอนด้านภาษา ว่า สอนจากการพูด ไปหาการอ่าน การเขียน และ คณิตศาสตร์(Reading Writing & Arithmetic)



จากนั้นก็มีการมอบของที่ระลึกจากทั้งสองฝ่าย ท่านผู้อำนวยการโรงเรียนปากคาดพิทยาคม เป็นตัวแทนของพวกเรากล่าวขอบคุณทางโรงเรียน แล้วทางโรงเรียนก็รับรองด้วยอาหารว่าง (พวกเราคงจะหิวกันจึงกินเป็นอาหารมื้อเที่ยงไปซะเลย ซึ่งที่จริงแล้ว เสร็จจากนี่ก็จะมีอาหารเที่ยงของพวกเราอยู่ที่ภัตตาคาร แต่มันหิวน่ะ จะทำไงได้) ใช้เวลาอีกประมาณ 15 นาที พวกเรากระจายกันเดินชมสถานที่และกิจกรรมการเรียนการสอนของครู (ที่จริงได้รับการบอกเล่าจากทางโรงเรียนว่า วันนี้เขาสอนถึงเที่ยง แล้วก็ปล่อยนักเรียน เพราะช่วงบ่ายก็จะเป็นนักเรียนผลัดบ่าย แต่พวกเราดูงานเกินเวลาแล้ว)

































ชุดนักเรียนกับศาสนา…ที่มาเลเซีย

เครื่องแบบนักเรียนของประเทศมาเลเซีย มีต้นแบบจากประเทศตะวันตก เด็กชายจะใส่เสื้อเชิ้ตสีขาว และกางเกงขาสั้นหรือกางเกงขายาวสีน้ำเงินเข้ม ส่วนชุดของเด็กหญิงจะมี 2 แบบได้แก่ แบบแรกใส่เสื้อเชิ้ตสีขาวสวมทับด้วยชุด Pinafore สีน้ำเงินเข้ม (เสื้อคล้ายผ้ากันเปื้อน) และแบบที่สองจะใส่เสื้อแขนยาวที่เรียกว่า Baju Kurung ใส่คู่กับกระโปรงยาวสีน้ำเงิน และมีผ้าคลุมศีรษะ ซึ่งแบบหลังจะได้รับความนิยมมากในเด็กประถมปลายขึ้นไป เนื่องจากเหตุผลของศาสนาอิสลามที่ผู้หญิงต้องแต่งกายมิดชิด

การศึกษามาเลเซีย

ระบบการบริหารการศึกษาของประเทศมาเลเซียอยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงศึกษาธิการ แบ่งระดับการบริหารเป็น 5 ระดับ คือ ระดับชาติ ระดับรัฐ ระดับอำเภอ ระดับกลุ่มโรงเรียนและระดับโรงเรียน การบริหารการศึกษาระดับชาติอยู่ในความรับผิดชอบของรัฐบาลกลาง ( Federal Government) การศึกษาทุกประเภททุกระดับอยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของกระทรวงศึกษาธิการเพียงกระทรวงเดียว ยกเว้นการศึกษาที่มีลักษณะเป็นการศึกษานอกระบบ (Non-formal Education) จะมีกรมจากกระทรวงอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องรับผิดชอบ เช่น กรมแรงงาน กรมเกษตร เป็นต้น

supasak กล่าวว่า...

(ต่อ 2 )

ระบบการจัดการศึกษาของมาเลเซีย (National Education System) เป็นระบบ 6:3:2 คือ

- ระดับประถมศึกษา หลักสูตร 6 ปีการศึกษา

- ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น หลักสูตร 3 ปีการศึกษา

- ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย หลักสูตร 2 ปีการศึกษา

- ระดับเตรียมอุดมศึกษา หลักสูตร 1 หรือ 2 ปีการศึกษา

- ระดับอุดมศึกษา หลักสูตรเฉลี่ยประมาณ 3 ปีครึ่งถึง 4 ปีการศึกษา

และแบ่งการศึกษาออกเป็น 5 ระดับดังนี้

1. การศึกษาระดับประถมศึกษา (Pre-school Education)

2. การศึกษาระดับประถมศึกษา (Primary Education)

3. การศึกษาระดับมัธยมศึกษา (Secondary Education)

4. การศึกษาระดับหลังมัธยมศึกษาหรือเตรียมอุดมศึกษา (Post-secondary Education)

5. การศึกษาระดับอุดมศึกษา (Higher Education)

ส่วนสถานศึกษาที่ทำหน้าที่จัดการศึกษาระดับต่าง ๆ นั้น แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ

1. สถานศึกษาของรัฐบาล (Government Education Institutions)

2. สถานศึกษาในอุปถัมภ์ของรัฐบาล (Government-aided Educational Institutions)

3. สถานศึกษาเอกชน (Private Educational Institutes)

ในโรงเรียนของรัฐบาลกำหนดให้ใช้ภาษาประจำชาติคือ ภาษามลายู (Bahasa Malayu) ที่เขียนด้วยอักษรรูมี (อักษรภาษาอังกฤษ) เป็นภาษาหลักในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน



นโยบาย /จุดเน้นด้านการศึกษา

ประเทศมาเลเซียให้ความสำคัญต่อการจัดการศึกษาอย่างมีคุณภาพเพื่อพัฒนาศักยภาพบุคคล

• การดำเนินงานด้านการศึกษาปัจจุบันประกอบด้วย การพัฒนาการศึกษาตามแผนแม่บทปี 2006-2010 ประกอบด้วยเป้าหมายยุทธศาสตร์ 6 ประการ ได้แก่

1) การสร้างชาติ

2) การพัฒนาทุนมนุษย์

3) การเสริมสร้างความแข็งแกร่งของโรงเรียนในชาติ

4) การลดช่องว่างการศึกษา

5) การยกระดับอาชีพครู

6) การเสริมสร้างความเป็นเลิศของสถาบันการศึกษา

• การดำเนินการด้านการศึกษาของมาเลเซียมีจุดมุ่งหมายที่จะพัฒนาผลการศึกษาของนักเรียนโดยการเพิ่มโอกาสทางการศึกษาที่มีคุณภาพ

• ขอบข่ายการดำเนินงานด้านการศึกษาที่สำคัญ 4 ประการ ประกอบด้วย

- การเพิ่มอัตราการเข้าเรียนของเด็กก่อนวัยเรียนและพัฒนาคุณภาพระบบการเรียน การสอน

- การพัฒนาทักษะการอ่านออกเขียนได้ และการคำนวณหลังจากปีที่ 3 ของการเรียน

- การจัดตั้งโรงเรียนที่มีความเป็นเลิศ หรือ High Performing Schools เพื่อพัฒนาการดำเนินงานของโรงเรียนทั้งระบบ

-การพัฒนาครูใหญ่ หรือผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนที่มีความเป็นเลิศจำนวน 20 แห่ง ภายใต้แผน New Deal โดยพัฒนาให้ได้อย่างน้อยจำนวน 100 คน ภายในปี 2553 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการสอนของครู



ความร่วมมือด้านการศึกษาในภูมิภาค

ขอบข่ายความร่วมมือ

1. การร่วมแบ่งปันแนวปฏิบัติที่ดีในด้านการศึกษา ประกอบด้วย

• การฝึกอบรมครู

• การพัฒนาภาวะผู้นำให้แก่ครู และผู้อำนวยการโรงเรียน

• การจัดการด้านการศึกษาปฐมวัย

• การสร้างนวัตกรรมและสิ่งสร้างสรรค์ต่างๆ สำหรับการเรียนการสอนในชั้นเรียน

2. การจัดการศึกษาเพื่อปวงชนสำหรับเด็กไร้สัญชาติ เด็กลี้ภัย เพื่อให้เด็กทุกคนได้รับสิทธิทางการศึกษาอย่างเท่าเทียม

3. การวิจัยและการพัฒนา เช่น การประเมินผลความสำเร็จของโรงเรียนปฐมวัย การจัดทำเครื่องมือชี้วัดผลการเรียนของนักเรียน ครู และภาวะผู้นำ

4. การฝึกอบรมด้านเทคนิคและอาชีวศึกษา เพื่อพัฒนาทักษะแรงงาน เช่น ด้านวิศวกรรมอวกาศ วิศวกรรมทางทะเล ศิลปะ กีฬา เป็นต้น

5. การศึกษานานาชาติ โดยการจัดโครงการคู่พัฒนา (Twinning Programme) โรงเรียนเครือข่าย การพัฒนาวิชาชีพ ความร่วมมือการดำเนินโครงการด้าน ICT โครงการฝึกปฏิบัติงาน เป็นต้น

โครงการภายใต้การจัดการศึกษาสำหรับผู้ด้อยโอกาส ประกอบด้วย

1 โครงการส่งเสริมการเรียนรู้สำหรับผู้เรียนที่มีความบกพร่องทางร่างกาย

2. การส่งเสริมการศึกษาสำหรับสตรีและเด็กหญิง

(อ้างอิงจาก www.bic.moe.go.th/th/index.php?option=com...id...)

supasak กล่าวว่า...

การไปดูงานที่มาเลเซีย โดยไปดูงานทั่วไปและไปดู่ที่โรงเรียน ที่มีผู้ไปมาแล้ว

http://neungsangtien.exteen.com/20111003/entry


เปิดประตูการศึกษา:ดูงานการศึกษาที่มาเลย์เซีย
posted on 03 Oct 2011 21:11 by neungsangtien ดูงานการศึกษา ที่ มาเลย์เซีย

สุรเดช พระลับรักษา
21 ตุลาคม 2552
........................................................................................................

จากนั้นไกด์เห็นว่ามีเวลายังเหลือจากเวลาที่นัดหมายกับทางโรงเรียนอยู่พอสมควร จึงพาตระเวนดูที่ ตึกคู่แฝด ทราบว่าตึกด้านซ้ายมือเป็นฝีมือของวิศวกรชาวญี่ปุ่น ตึกขวามือเป็นฝีมือวิศวกรชาวเกาหลี แล้วมีการสร้างสะพานเชื่อมต่อที่ชั้น 18 เป็นช่วงสมัยของ มหาเธร์ นายกรัฐมนตรีของมาเลเซีย เคยได้ชื่อว่าเป็นตึกที่สูงที่สุด ป่าสีเขียวที่มองเห็นสองข้างทางที่ผ่านนั้น กัวลาลัมเปอร์ เป็นต้นแบบของการอนุรักษ์ธรรมชาติ จะสามารถมองเห็นต้นไม้หนาแน่นตลอดทุกพื้นที่ว่าง ดังนั้น กัวลาลัมเปอร์ จึงมีอุทยานแห่งชาติอยู่ในเมืองหลวงถึง 3 แห่งด้วยกัน มีต้นไม้ซึ่งโตมาก อายุ กว่าร้อยปี อยู่ข้างหอคอย เป็นต้นแบบของการอนุรักษ์ธรรมชาติ แม้จะต้องเสียค่าใช้จ่ายในการดูแลและบำรุงรักษา ถึงปีละ สามล้าน ริงกิต ก็ตาม ผ่านพระราชวังของสุลต่านตรังกานู ด้านล่างเป็นศูนย์การค้าที่ใหญ่ที่สุดในมาเลเซีย เราได้ทราบข้อมูลจากไกด์ว่า สำหรับมาเลเซียการข้ามถนนหากไม่ข้ามทางม้าลาย เมื่อถูกรถชน ผู้ผิดคือคน จะต้องเสียค่าใช้จ่ายให้กับเจ้าของรถ (ขอให้พวกเราระวังไว้)

(คณะของเรากลุ่มย่อยจาก Car 4)
ในที่สุดก็ถึงเวลานัดหมายการดูงานทางการศึกษาของพวกเราได้มุ่งหน้าไปที่โรงเรียน Sekolah Kebangsaan Seri Bintang Selatan (หมายถึงโรงเรียนรัฐบาลชื่อ Seri Bintang Selatan) ซึ่งเป็นโรงเรียนต้นแบบของมาเลเซีย (Malaysian Smart School) มีการต้อนรับจากทางโรงเรียน พวกเราเห็นป้ายว่า Welcome Student of Bangkok Thonburi University to SK Seri Bintang Selatan, Kualalumpur.(ยินดีต้อนรับนักศึกษามหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี จากโรงเรียน SK Seri Bintang Selatan)

พวกเราพร้อมกันที่ห้องรับรอง รับฟังการ Present จากทางโรงเรียน

มีการแนะนำตัวผู้บริหารและครูที่ทำหน้าที่ฝ่าย ไอที ทราบว่า Headmaster ไม่อยู่ มอบให้ Senior Assistant 2 ทำหน้าที่แทน ทางโรงเรียนได้ใช้โปรแกรม Power Point เป็นสื่อในการ Present เกี่ยวกับประวัติและผลงานทางการศึกษาของโรงเรียน ซึ่งตั้งอยู่ใจกลางเมืองกัวลาลัมเปอร์ เป็นโรงเรียนระดับประถมศึกษาของรัฐบาล (Primary School) ที่เปิดสอนตั้งแต่ประถมศึกษาปีที่ 1-6 มีครู 69 คน นักเรียน 1,047 คนรับนักเรียนอายุตั้งแต่ 7 ปีขึ้นไป ใช้อักษรย่อ SK.SBS.

จะมีโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาอยู่ถัดไป นักเรียนที่เรียนจบชั้นประถมศึกษา จะถูกส่งเข้าเรียนต่อในโรงเรียนแห่งนั้น ระบบการจัดการในโรงเรียน(การบริหาร) คือ Teaching Learning & Management เป็น A Smart School การสอนและการใช้ภาษากับนักเรียน เนื่องจากนักเรียนมีเชื้อชาติหลายเชื้อชาติ จึงต้องใช้ภาษาอังกฤษภาษามาเลเซีย อาหรับ อินเดีย ฯลฯ การแต่งกายของนักเรียนในระดับประถม ศึกษา ใช้เหมือนกันทั่วประเทศ การสอนในระบบนักเรียนเป็นศูนย์กลาง (Student Center) การสอนให้เก่ง ฉลาดและมีปัญญาไว (Smart) และการเรียนรู้ เน้นทักษะความคิดอย่างมีเหตุผล มีการทำปฏิกิริยาในเชิงบวกและเป็นการทำงานร่วมกันระหว่างครูกับนักเรียน และนักเรียนกับนักเรียน ที่เหมาะสมกับความต้องการเรียนรู้ของพวกเขา เข้าถึงทรัพยากรข้อมูลข่าวสารทาง Internet และกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง การเข้าถึงไอที สามารถอ่านและเขียนหนังสือได้ มีการทำงานแบบความร่วมมือและการมีส่วนร่วม ด้านวิสัยทัศน์ของโรงเรียน (School Vision) ได้แก่ Success (ความสำเร็จ) Excellent (ความดีเป็นเลิศ) Accede (การยอมทำตาม) แรงบันดาลใจของโรงเรียน (School Motive) ผลิตนักเรียนให้มีความรู้ มีความประพฤติที่ดี และสามารถช่วยเหลือครอบครัว,ศาสนา,ประชาชาติและประเทศ

supasak กล่าวว่า...

ภารกิจของโรงเรียน(School Mission) พยายามให้เข้าใจวิสัยทัศน์ผ่านภารกิจโรงเรียนดังนี้
1.ผลิตนักเรียนให้สามารถอ่านและเขียนหนังสือได้ รวมถึงข้อมูลข่าวสารและเทคโนโลยี
2.ให้เป็นคนที่มีคุณภาพในการเรียน 100 % ผ่าน KPSR.
3.ผลิตนักเรียนให้มีสุขภาพจิตและทางกายภาพ มีความคิดและความฉลาด
4.ให้นักเรียนเป็นคนดี มีความประพฤติอย่างมีคุณค่าและมีศีลธรรมสูง
5.ทำให้เกิดความเข้าใจระหว่าง PIBG กับบุคคลภายนอก
การเรียน เปิดสอนตั้งแต่เวลา 7.00 น. เรียนครึ่งวันถึงเที่ยง ตอนบ่ายให้อยู่ช่วยผู้ปกครองที่บ้าน นักเรียนของโรงเรียนแห่งนี้ มีค่อนข้างมาก ครูจึงสอนเป็นผลัดเช้าและบ่าย มีข้อถามเล็กๆ น้อยๆ จากพวกเรา(ที่ถนัดภาษาอังกฤษมากกว่าเพื่อนอยู่บ้าง ขอบคุณที่ถามแทน) ร้อนถึงไกด์ของพวกเรา เลยต้องทำหน้าที่เป็นล่ามไปในตัว เพราะสำเนียงภาษาอังกฤษ ระหว่างมาเลเซียปนจีน กับไทยปนอีสาน ฟังสำเนียงกันและกันไม่ค่อยจะรื่นหูนัก ก็ได้คำตอบและเข้าใจพอสมควร เมื่อถามว่า ทางโรงเรียนมีวิธีสอนทางด้านภาษาอย่างไร (แหม..ก็เขาเกิดมาก็อยู่กับภาษาอังกฤษอยู่แล้ว...มีผู้อยู่ข้างๆ ให้คำตอบแทน) ได้รับคำตอบจากครูผู้รับผิดชอบในการสอนด้านภาษา ว่า สอนจากการพูด ไปหาการอ่าน การเขียน และ คณิตศาสตร์(Reading Writing & Arithmetic)

จากนั้นก็มีการมอบของที่ระลึกจากทั้งสองฝ่าย ท่านผู้อำนวยการโรงเรียนปากคาดพิทยาคม เป็นตัวแทนของพวกเรากล่าวขอบคุณทางโรงเรียน แล้วทางโรงเรียนก็รับรองด้วยอาหารว่าง (พวกเราคงจะหิวกันจึงกินเป็นอาหารมื้อเที่ยงไปซะเลย ซึ่งที่จริงแล้ว เสร็จจากนี่ก็จะมีอาหารเที่ยงของพวกเราอยู่ที่ภัตตาคาร แต่มันหิวน่ะ จะทำไงได้) ใช้เวลาอีกประมาณ 15 นาที พวกเรากระจายกันเดินชมสถานที่และกิจกรรมการเรียนการสอนของครู (ที่จริงได้รับการบอกเล่าจากทางโรงเรียนว่า วันนี้เขาสอนถึงเที่ยง แล้วก็ปล่อยนักเรียน เพราะช่วงบ่ายก็จะเป็นนักเรียนผลัดบ่าย แต่พวกเราดูงานเกินเวลาแล้ว)

ชุดนักเรียนกับศาสนา…ที่มาเลเซีย
เครื่องแบบนักเรียนของประเทศมาเลเซีย มีต้นแบบจากประเทศตะวันตก เด็กชายจะใส่เสื้อเชิ้ตสีขาว และกางเกงขาสั้นหรือกางเกงขายาวสีน้ำเงินเข้ม ส่วนชุดของเด็กหญิงจะมี 2 แบบได้แก่ แบบแรกใส่เสื้อเชิ้ตสีขาวสวมทับด้วยชุด Pinafore สีน้ำเงินเข้ม (เสื้อคล้ายผ้ากันเปื้อน) และแบบที่สองจะใส่เสื้อแขนยาวที่เรียกว่า Baju Kurung ใส่คู่กับกระโปรงยาวสีน้ำเงิน และมีผ้าคลุมศีรษะ ซึ่งแบบหลังจะได้รับความนิยมมากในเด็กประถมปลายขึ้นไป เนื่องจากเหตุผลของศาสนาอิสลามที่ผู้หญิงต้องแต่งกายมิดชิด

supasak กล่าวว่า...

การศึกษามาเลเซีย
ระบบการบริหารการศึกษาของประเทศมาเลเซียอยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงศึกษาธิการ แบ่งระดับการบริหารเป็น 5 ระดับ คือ ระดับชาติ ระดับรัฐ ระดับอำเภอ ระดับกลุ่มโรงเรียนและระดับโรงเรียน การบริหารการศึกษาระดับชาติอยู่ในความรับผิดชอบของรัฐบาลกลาง ( Federal Government) การศึกษาทุกประเภททุกระดับอยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของกระทรวงศึกษาธิการเพียงกระทรวงเดียว ยกเว้นการศึกษาที่มีลักษณะเป็นการศึกษานอกระบบ (Non-formal Education) จะมีกรมจากกระทรวงอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องรับผิดชอบ เช่น กรมแรงงาน กรมเกษตร เป็นต้น
ระบบการจัดการศึกษาของมาเลเซีย (National Education System) เป็นระบบ 6:3:2 คือ
- ระดับประถมศึกษา หลักสูตร 6 ปีการศึกษา
- ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น หลักสูตร 3 ปีการศึกษา
- ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย หลักสูตร 2 ปีการศึกษา
- ระดับเตรียมอุดมศึกษา หลักสูตร 1 หรือ 2 ปีการศึกษา
- ระดับอุดมศึกษา หลักสูตรเฉลี่ยประมาณ 3 ปีครึ่งถึง 4 ปีการศึกษา
และแบ่งการศึกษาออกเป็น 5 ระดับดังนี้
1. การศึกษาระดับประถมศึกษา (Pre-school Education)
2. การศึกษาระดับประถมศึกษา (Primary Education)
3. การศึกษาระดับมัธยมศึกษา (Secondary Education)
4. การศึกษาระดับหลังมัธยมศึกษาหรือเตรียมอุดมศึกษา (Post-secondary Education)
5. การศึกษาระดับอุดมศึกษา (Higher Education)
ส่วนสถานศึกษาที่ทำหน้าที่จัดการศึกษาระดับต่าง ๆ นั้น แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
1. สถานศึกษาของรัฐบาล (Government Education Institutions)
2. สถานศึกษาในอุปถัมภ์ของรัฐบาล (Government-aided Educational Institutions)
3. สถานศึกษาเอกชน (Private Educational Institutes)
ในโรงเรียนของรัฐบาลกำหนดให้ใช้ภาษาประจำชาติคือ ภาษามลายู (Bahasa Malayu) ที่เขียนด้วยอักษรรูมี (อักษรภาษาอังกฤษ) เป็นภาษาหลักในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน

นโยบาย /จุดเน้นด้านการศึกษา
ประเทศมาเลเซียให้ความสำคัญต่อการจัดการศึกษาอย่างมีคุณภาพเพื่อพัฒนาศักยภาพบุคคล
• การดำเนินงานด้านการศึกษาปัจจุบันประกอบด้วย การพัฒนาการศึกษาตามแผนแม่บทปี 2006-2010 ประกอบด้วยเป้าหมายยุทธศาสตร์ 6 ประการ ได้แก่
1) การสร้างชาติ
2) การพัฒนาทุนมนุษย์
3) การเสริมสร้างความแข็งแกร่งของโรงเรียนในชาติ
4) การลดช่องว่างการศึกษา
5) การยกระดับอาชีพครู
6) การเสริมสร้างความเป็นเลิศของสถาบันการศึกษา
• การดำเนินการด้านการศึกษาของมาเลเซียมีจุดมุ่งหมายที่จะพัฒนาผลการศึกษาของนักเรียนโดยการเพิ่มโอกาสทางการศึกษาที่มีคุณภาพ
• ขอบข่ายการดำเนินงานด้านการศึกษาที่สำคัญ 4 ประการ ประกอบด้วย
- การเพิ่มอัตราการเข้าเรียนของเด็กก่อนวัยเรียนและพัฒนาคุณภาพระบบการเรียน การสอน
- การพัฒนาทักษะการอ่านออกเขียนได้ และการคำนวณหลังจากปีที่ 3 ของการเรียน
- การจัดตั้งโรงเรียนที่มีความเป็นเลิศ หรือ High Performing Schools เพื่อพัฒนาการดำเนินงานของโรงเรียนทั้งระบบ
-การพัฒนาครูใหญ่ หรือผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนที่มีความเป็นเลิศจำนวน 20 แห่ง ภายใต้แผน New Deal โดยพัฒนาให้ได้อย่างน้อยจำนวน 100 คน ภายในปี 2553 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการสอนของครู

ความร่วมมือด้านการศึกษาในภูมิภาค
ขอบข่ายความร่วมมือ
1. การร่วมแบ่งปันแนวปฏิบัติที่ดีในด้านการศึกษา ประกอบด้วย
• การฝึกอบรมครู
• การพัฒนาภาวะผู้นำให้แก่ครู และผู้อำนวยการโรงเรียน
• การจัดการด้านการศึกษาปฐมวัย
• การสร้างนวัตกรรมและสิ่งสร้างสรรค์ต่างๆ สำหรับการเรียนการสอนในชั้นเรียน
2. การจัดการศึกษาเพื่อปวงชนสำหรับเด็กไร้สัญชาติ เด็กลี้ภัย เพื่อให้เด็กทุกคนได้รับสิทธิทางการศึกษาอย่างเท่าเทียม
3. การวิจัยและการพัฒนา เช่น การประเมินผลความสำเร็จของโรงเรียนปฐมวัย การจัดทำเครื่องมือชี้วัดผลการเรียนของนักเรียน ครู และภาวะผู้นำ
4. การฝึกอบรมด้านเทคนิคและอาชีวศึกษา เพื่อพัฒนาทักษะแรงงาน เช่น ด้านวิศวกรรมอวกาศ วิศวกรรมทางทะเล ศิลปะ กีฬา เป็นต้น
5. การศึกษานานาชาติ โดยการจัดโครงการคู่พัฒนา (Twinning Programme) โรงเรียนเครือข่าย การพัฒนาวิชาชีพ ความร่วมมือการดำเนินโครงการด้าน ICT โครงการฝึกปฏิบัติงาน เป็นต้น
โครงการภายใต้การจัดการศึกษาสำหรับผู้ด้อยโอกาส ประกอบด้วย
1 โครงการส่งเสริมการเรียนรู้สำหรับผู้เรียนที่มีความบกพร่องทางร่างกาย
2. การส่งเสริมการศึกษาสำหรับสตรีและเด็กหญิง
(อ้างอิงจาก www.bic.moe.go.th/th/index.php?option=com...id...)

supasak กล่าวว่า...

http://neungsangtien.exteen.com/20111003/entry

เปิดประตูการศึกษา:ดูงานการศึกษาที่มาเลย์เซีย
เปิดประตูการศึกษา:ดูงานการศึกษาที่มาเลย์เซีย
ArchivesApr 2012

supasak กล่าวว่า...

ในที่สุดก็ถึงเวลานัดหมายการดูงานทางการศึกษาของพวกเราได้มุ่งหน้าไปที่โรงเรียน Sekolah Kebangsaan Seri Bintang Selatan (หมายถึงโรงเรียนรัฐบาลชื่อ Seri Bintang Selatan) ซึ่งเป็นโรงเรียนต้นแบบของมาเลเซีย (Malaysian Smart School) มีการต้อนรับจากทางโรงเรียน พวกเราเห็นป้ายว่า Welcome Student of Bangkok Thonburi University to SK Seri Bintang Selatan, Kualalumpur.(ยินดีต้อนรับนักศึกษามหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี จากโรงเรียน SK Seri Bintang Selatan)

พวกเราพร้อมกันที่ห้องรับรอง รับฟังการ Present จากทางโรงเรียน

มีการแนะนำตัวผู้บริหารและครูที่ทำหน้าที่ฝ่าย ไอที ทราบว่า Headmaster ไม่อยู่ มอบให้ Senior Assistant 2 ทำหน้าที่แทน ทางโรงเรียนได้ใช้โปรแกรม Power Point เป็นสื่อในการ Present เกี่ยวกับประวัติและผลงานทางการศึกษาของโรงเรียน ซึ่งตั้งอยู่ใจกลางเมืองกัวลาลัมเปอร์ เป็นโรงเรียนระดับประถมศึกษาของรัฐบาล (Primary School) ที่เปิดสอนตั้งแต่ประถมศึกษาปีที่ 1-6 มีครู 69 คน นักเรียน 1,047 คนรับนักเรียนอายุตั้งแต่ 7 ปีขึ้นไป ใช้อักษรย่อ SK.SBS.

จะมีโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาอยู่ถัดไป นักเรียนที่เรียนจบชั้นประถมศึกษา จะถูกส่งเข้าเรียนต่อในโรงเรียนแห่งนั้น ระบบการจัดการในโรงเรียน(การบริหาร) คือ Teaching Learning & Management เป็น A Smart School การสอนและการใช้ภาษากับนักเรียน เนื่องจากนักเรียนมีเชื้อชาติหลายเชื้อชาติ จึงต้องใช้ภาษาอังกฤษภาษามาเลเซีย อาหรับ อินเดีย ฯลฯ การแต่งกายของนักเรียนในระดับประถม ศึกษา ใช้เหมือนกันทั่วประเทศ การสอนในระบบนักเรียนเป็นศูนย์กลาง (Student Center) การสอนให้เก่ง ฉลาดและมีปัญญาไว (Smart) และการเรียนรู้ เน้นทักษะความคิดอย่างมีเหตุผล มีการทำปฏิกิริยาในเชิงบวกและเป็นการทำงานร่วมกันระหว่างครูกับนักเรียน และนักเรียนกับนักเรียน ที่เหมาะสมกับความต้องการเรียนรู้ของพวกเขา เข้าถึงทรัพยากรข้อมูลข่าวสารทาง Internet และกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง การเข้าถึงไอที สามารถอ่านและเขียนหนังสือได้ มีการทำงานแบบความร่วมมือและการมีส่วนร่วม ด้านวิสัยทัศน์ของโรงเรียน (School Vision) ได้แก่ Success (ความสำเร็จ) Excellent (ความดีเป็นเลิศ) Accede (การยอมทำตาม) แรงบันดาลใจของโรงเรียน (School Motive) ผลิตนักเรียนให้มีความรู้ มีความประพฤติที่ดี และสามารถช่วยเหลือครอบครัว,ศาสนา,ประชาชาติและประเทศ
ภารกิจของโรงเรียน(School Mission) พยายามให้เข้าใจวิสัยทัศน์ผ่านภารกิจโรงเรียนดังนี้
1.ผลิตนักเรียนให้สามารถอ่านและเขียนหนังสือได้ รวมถึงข้อมูลข่าวสารและเทคโนโลยี
2.ให้เป็นคนที่มีคุณภาพในการเรียน 100 % ผ่าน KPSR.
3.ผลิตนักเรียนให้มีสุขภาพจิตและทางกายภาพ มีความคิดและความฉลาด
4.ให้นักเรียนเป็นคนดี มีความประพฤติอย่างมีคุณค่าและมีศีลธรรมสูง
5.ทำให้เกิดความเข้าใจระหว่าง PIBG กับบุคคลภายนอก
การเรียน เปิดสอนตั้งแต่เวลา 7.00 น. เรียนครึ่งวันถึงเที่ยง ตอนบ่ายให้อยู่ช่วยผู้ปกครองที่บ้าน นักเรียนของโรงเรียนแห่งนี้ มีค่อนข้างมาก ครูจึงสอนเป็นผลัดเช้าและบ่าย มีข้อถามเล็กๆ น้อยๆ จากพวกเรา(ที่ถนัดภาษาอังกฤษมากกว่าเพื่อนอยู่บ้าง ขอบคุณที่ถามแทน) ร้อนถึงไกด์ของพวกเรา เลยต้องทำหน้าที่เป็นล่ามไปในตัว เพราะสำเนียงภาษาอังกฤษ ระหว่างมาเลเซียปนจีน กับไทยปนอีสาน ฟังสำเนียงกันและกันไม่ค่อยจะรื่นหูนัก ก็ได้คำตอบและเข้าใจพอสมควร เมื่อถามว่า ทางโรงเรียนมีวิธีสอนทางด้านภาษาอย่างไร (แหม..ก็เขาเกิดมาก็อยู่กับภาษาอังกฤษอยู่แล้ว...มีผู้อยู่ข้างๆ ให้คำตอบแทน) ได้รับคำตอบจากครูผู้รับผิดชอบในการสอนด้านภาษา ว่า สอนจากการพูด ไปหาการอ่าน การเขียน และ คณิตศาสตร์(Reading Writing & Arithmetic)

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

อ่านแล้วครับ..ขอบคุณ..สำหรับข้อมูลดีๆ

supasak กล่าวว่า...

การดูงานที่สิงคโปร์

http://www.siamburitraveltour.com/show_tour.php?tour_id=262&tour_cate=2

วันที่สอง การศึกษาดูงานด้านการศึกษา – เกาะเซ็นโตซ่า
07:00 บริการอาหารเช้า ณ ห้องอาหารของโรงแรม (มื้อที่ 3)
09:00 นำคณะสมาชิกเข้า เยี่ยมชมการศึกษาดูงานด้านการศึกษา ณ สถาบันสอนภาษาที่ได้รับชื่อเสียงอีกแห่งหนึ่ง ของประเทศสิงคโปร์ ณ Brighton Commercial Training Centre เพื่อเรียนรู้กระบวนการเรียนรู้ของเด็กนักเรียนที่อาศัยอยู่ในมหานครแห่งนี้ เพื่อให้ท่านสมาชิกได้เป็นแนวทางเพื่อการพัฒนาการเรียนการสอนและระบบการเรียนรู้ให้ดียิ่งขึ้น เยี่ยมชมเว็บไซด์

http://www.brighton.edu.sg/index.php

supasak กล่าวว่า...

http://www.wattanasatit.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=538663309&Ntype=5

(ในเวบจริงมีภาพประกอบ )

ระบบการศึกษาประเทศสิงคโปร์

การศึกษาสิงคโปร์เป็นความร่วมมือระหว่างองค์กรภาครัฐต่างๆ ซึ่งริเริ่มโดยรัฐบาลสิงคโปร์ในปี 2546 เพื่อก่อตั้งและส่งเสริมให้ประเทศสิงคโปร์เป็นศูนย์กลางทางการศึกษา และช่วยเหลือนักเรียนต่างชาติในการให้ข้อมูลเพื่อการตัดสินใจมาศึกษาต่อยังประเทศสิงคโปร์

กระทรวงศึกษาธิการของสิงคโปร์ (Ministry of Education : MOE)
ดูแลระบบการศึกษาของโรงเรียนรัฐบาลในสิงคโปร์


--------------------------------------------------------------------------------






ประถมศึกษา

เด็กทุกคนในสิงคโปร์จะต้องใช้เวลาเรียน 6 ปีในระดับประถมศึกษา ประกอบด้วยการเรียนชั้นประถมต้น (foundation stage) 4 ปี ตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-4 และชั้นประถมปลาย (orientation stage) อีก 2 ปี ในชั้นประถมศึกษาปีที่ 5-6

ในหลักสูตรขั้นพื้นฐาน วิชาหลักที่ได้เรียนคือ วิชาภาษาอังกฤษ ภาษาท้องถิ่น (Mother Tongue อันได้แก่ ภาษาจีน มาเลย์ หรือทามิล ตามเชื้อชาติของตนเอง) คณิตศาสตร์ และวิชาเสริม อันได้แก่ ดนตรี ศิลปะหัตถกรรม สุขศึกษา และสังคมศึกษา ส่วนวิชาวิทยาศาสตร์จะเริ่มเรียนกันตั้งแต่ประถมศึกษาปีที่ 3 เป็นต้นไป และเพื่อเพิ่มพูนประสิทธิภาพในตัวนักเรียนและทดสอบความถนัดของนักเรียนให้ตรงกับแผนการเรียนในระดับมัธยม ทุกคนที่เรียนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จะต้องทำข้อสอบ Primary School Leaving Examination (PSLE) ให้ผ่านเพื่อจบการศึกษาระดับประถม

มัธยมศึกษา

โรงเรียนมัธยมศึกษาในสิงคโปร์มีหลายรูปแบบ ทั้งที่ให้ทุนทั้งหมดโดยรัฐบาล หรือเพียงส่วนเดียว หรือ นักเรียนเป็นคนออกค่าใช้จ่ายทั้งหมด นักเรียนในแผนการเรียนพิเศษ (Special และ Express) จะใช้เวลาเรียนเพียง 4 ปี ขณะที่นักเรียนในแผนการเรียนปกติ (Normal) จะใช้เวลาเรียน 5 ปี โดยนักเรียนในแผนการเรียนพิเศษจะสอบ Singapore-Cambridge General Certificate of Education 'Ordinary' (GCE 'O' Level) เมื่อเรียนครบ 4 ปี ส่วนนักเรียนหลักสูตรปกติที่ใช้เวลาเรียน 5 ปีนั้น จะสอบ Singapore-Cambridge General Certificate of Education 'Normal' (GCE 'N' Level) เมื่อถึงปีที่ 4 ก่อน แล้วจึงจะสามารถสอบ GCE 'O' Level เมื่อเรียนจบปีที่ 5

หลักสูตรวิชาในระดับชั้นมัธยมศึกษาจะประกอบด้วย วิชาภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ ภาษาแม่ (จีน มาเลย์ หรือทามิล) วิทยาศาสตร์ และมนุษยศาสตร์ ในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 นักเรียนสามารถเลือกได้ว่าจะเรียนทางสายศิลป์ วิทยาศาสตร์ ธุรกิจการค้าหรือสายวิชาชีพ

จูเนียร์ คอลเลจ / เตรียมอุดมศึกษา

เมื่อนักเรียนสอบ GCE 'O' Level ผ่านได้แล้ว นักเรียนสามารถสมัครเข้าศึกษาต่อใน ระดับจูเนียร์ คอลเลจเป็นเวลา 2 ปี หรือศึกษาที่สถาบันกลางการศึกษา (centralised institute) เป็นเวลา 3 ปี เพื่อเตรียมศึกษาต่อระดับมหาวิทยาลัย จูเนียร์ คอลเลจ และ สถาบันกลางการศึกษาจะสอนทุกอย่างเพื่อเตรียมตัวให้นักเรียนเข้าศึกษาในระดับมหาวิทยาลัยได้ หลักสูตรหลักแบ่งเป็น 2 หลักสูตร คือ วิชาความรู้ทั่วไป (General Paper) และภาษาแม่ เมื่อเรียนจบจูเนียร์ คอลเลจ นักเรียนจะต้องสอบ Singapore-Cambridge General Certificate of Education 'Advanced' (GCE 'A' Level) โดยเลือกวิชาสอบสูงสุดได้ 4 วิชา จากวิชาในหมวดศิลปะ วิทยาศาสตร์และธุรกิจการค้า

supasak กล่าวว่า...

(ต่อ การศึกษาในสิงคโปร์)
โพลีเทคนิค

โพลีเทคนิคสร้างขึ้นเพื่อเปิดหลักสูตรการอบรมที่หลากหลายให้แก่นักศึกษาที่ต้องการฝึกปรือฝีมือในระดับประกาศนียบัตร และอนุปริญญา ในขณะนี้มีโพลีเทคนิค 5 แห่งในสิงคโปร์ ได้แก่


Nanyang Polytechnic
Ngee Ann Polytechnic
Republic Polytechnic
Singapore Polytechnic
Temasek Polytechnic
สถาบันเหล่านี้มีหลักสูตรการสอนมากมายที่มุ่งเน้นให้สามารถไปประกอบอาชีพในอนาคต เช่น วิศวกรรม บริหารธุรกิจ การสื่อสารมวลชน การออกแบบดีไซน์ เทคโนโลยีสารสนเทศ และหลักสูตรเฉพาะทางอย่างเช่น การวัดสายตา วิศวกรรมทางทะเล การศึกษาเกี่ยวกับการเดินเรือ พยาบาล การเลี้ยงดูเด็กอ่อน และการทำภาพยนตร์


สถาบันเทคนิคศึกษา

สถาบันเทคนิคศึกษา (Institute of Technical Education - ITE) เป็นอีกหนึ่งทางเลือกของนักเรียนที่จบจากชั้นมัธยมศึกษาและต้องการพัฒนาทักษะด้านเทคโนโลยีและความรู้ทางอุตสาหกรรมแขนงต่างๆ นอกจากโปรแกรมฝึกอบรมเต็มเวลาสำหรับนักเรียนที่จบจากชั้นมัธยมศึกษาแล้ว และยังมีโปรแกรมสำหรับผู้ใหญ่ที่ต้องการเพิ่มพูนความรู้ของตนด้านเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมอีกด้วย


โรงเรียนหลักสูตรต่างประเทศ/โรงเรียนนานาชาติ

โรงเรียนที่สอนหลักสูตรต่างประเทศหรือโรงเรียนนานาชาติได้เปิดโอกาสให้คุณได้ศึกษาหาความรู้ในแบบเดียวกับประเทศต้นกำเนิดของโรงเรียน โรงเรียนเหล่านี้จดทะเบียนถูกต้องกับกระทรวงศึกษาธิการของประเทศสิงคโปร์ และมีการวางแนวทางหลักสูตรการศึกษาเหมือนกับโรงเรียนในประเทศนั้น โดยปกติโรงเรียนนานาชาติที่เข้ามาเปิดในสิงคโปร์จะมีทั้งนักเรียนจากต่างประเทศและชาวต่างชาติจากชาตินั้นๆ ที่เข้ามาอาศัยอยู่ในสิงคโปร์เป็นการชั่วคราว บางโรงเรียนจะกำหนดคุณสมบัติขั้นต้นของนักเรียนที่มาสมัครเช่น สัญชาติ หรือความสามารถทางด้านภาษา ค่าเล่าเรียนในแต่ละปีจะแตกต่างกันไปตามแต่ละโรงเรียน โดยเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 4,600-14,000 เหรียญสิงคโปร์ต่อปี สำหรับชั้นเรียนเด็กเล็ก และ 6,000-18,000 เหรียญสิงคโปร์ต่อปี สำหรับชั้นเรียนเด็กโต ทั้งนี้ การจัดสอบและการปิดเทอมก็แตกต่างกันไปในแต่ละโรงเรียนด้วยเช่นกัน

โรงเรียนชั้นนำสองแห่งของสิงคโปร์ นั่นคือ Anglo-Chinese School (ACS) และ Hwa Chong Institution ได้ก่อตั้งเป็นโรงเรียนเอกชนขึ้นโดยเริ่มรับนักเรียนเข้าศึกษาครั้งแรกในเดือนธันวาคม พ.ศ.2548

โรงเรียนทั้งสองแห่งที่จัดตั้งขึ้นนั้น ได้เปิดการเรียนการสอนทั้งในระดับมัธยมศึกษาและระดับหลังจบระดับมัธยมศึกษาACS International จะมีหลักสูตร GCSE นานาชาติและหลักสูตรอนุปริญญาสำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับ มัธยมศึกษาตอนปลายนานาชาติ (International Baccalaureate Diploma Programme) ขณะที่Hwa Chong International จะมีหลักสูตรระดับมัธยมศึกษา และเตรียมอุดมศึกษาซึ่งจะได้รับ ประกาศนียบัตร GCE A Level ในขั้นสูงสุด


ก่อนที่จะทำการลงทะเบียนเรียน กรุณาตรวจสอบข้อมูลต่างๆของโรงเรียนที่ท่านต้องการลงทะเบียนนั้นมีหลักสูตรตรงตามความต้องการของท่าน กรุณาคลิก ที่นี่ สำหรับข้อแนะนำการสมัครเรียนในสิงคโปร์

ข้อมูลจาก : Singapore Education

supasak กล่าวว่า...
ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ
supasak กล่าวว่า...
ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ
supasak กล่าวว่า...
ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ
supasak กล่าวว่า...
ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ
supasak กล่าวว่า...
ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ
supasak กล่าวว่า...

http://www.gotoknow.org/blogs/posts/141285

ดูงานโรงเรียน Autonomous School ในสิงคโปร์

นาย บรรจง ปัทมาลัย
ผู้อำนวยการโรงเรียน
โรงเรียนเชียงกลมวิทยา

Dunman Secondary School - ความโดดเด่นด้าน Life Science



วันที่ ๓ ของการดูงาน(๒๖ ก.ย.) วันนี้เรามีโปรแกรมการดูงาน ๒ โรงเรียน เวลา ๙.๓๐-๑๑.๓๐ น. ไปศึกษาดูงานโรงเรียนมัธยมศึกษาชื่อว่า Dunman Secondary School (DSS) โรงเรียนนี้เป็น Autonomous School ตั้งแต่ปี ๒๐๐๑(ก่อตั้ง ๑๙๖๓) การจะเป็นโรงเรียนที่บริหารจัดการด้วยตนเองได้(เช่นเดียวกับ โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์) นั้น ต้องมีการประเมินและสะสมคะแนนมาอย่างต่อเนื่องโดยกระทรวงศึกษาฯ แน่นอนกระทรวงฯมีงบประมาณสนับสนุนมากพอควร ปัจจุบันมี Mrs. Edel weis Neo เป็น Principal และสามารถติดตามข้อมูลต่าง ๆ ของโรงเรียนได้ที่ http://www.dunmansec.moe.edu.sg

ความโดดเด่นของโรงเรียนนี้ เท่าที่รับฟัง ศึกษาจากเอกสาร มีดังนี้

•School - based : Life Science Programme
•มีห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ที่ทันสมัยมาก ๆ น่าจะดีกว่าบางมหาวิทยาลัยเสียอีก อุปกรณ์ ผู้ดูแลครบครัน ผู้เรียนสามารถทดลอง ตรวจสอบได้แทบทุกเรื่องในด้านวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะด้านเคมี ชีววิทยา สามารถตรวจสอบการเพาะเชื้อ การสกัดDNA เช่นเดียวกับการเรียนที่เจาะลึกในห้องแล็บเฉพาะทาง(ภาพประกอบด้านบนซ้าย)
•ผลงานของห้องนี้มีเผยแพร่ทางเว็บไซด์เพื่อเชิญชวนมาใช้บริการ และเป็นศูนย์อบรมการใช้ของกลุ่มโรงเรียน
•การเรียนที่นี่เน้น การวิจัย และ Project based Learning มุ่งบูรณาการหลาย ๆ วิชา เราได้ชม วีดิทัศน์ที่นักเรียนตัดต่อเอง เรื่องการแนะนำโรงเรียน ได้ชมสไลด์โครงงานที่นักเรียนทำเรื่องRestuarant ซึ่งนักเรียนไปออกแบบโครงงานมาอย่างครบสมบูรณ์ทุกขั้นตอน ตั้งแต่การปรุงอาหาร การเสริฟ การจัดจานอาหารตามสไตล์ของแต่ละชาติ(มีอาหารไทยด้วย) สุดท้ายมีการประเมินโดยเชิญ ครูใหญ่ และครูในโรงเรียนมาชิมอาหาร
•อีกเรื่องหนึ่งที่โดดเด่นของที่นี่ คือ Design & Technology(D&I) แต่ชื่อห้องที่จัดแสดงเขียนว่าNexus Design ขั้นการผลิตชิ้นงานมีโรงฝึกงานที่กว้างมาก อุปกรณ์ครบครัน เอาไว้ให้นักเรียนออกแบบผลิตภัณฑ์ แล้วนำมาเสนอในห้องแสดงนิทรรศการ ซึ่งเราได้เห็นผลงานของนักเรียนที่หลากหลาย มีสีสรรสวยงาม(ภาพประกอบด้านบนขวา)
•มีการนำ IT ไปใช้ในการเรียนโดยเข้มขึ้นตามระดับชั้น ที่นี่นักเรียนใช้ Tablet PC , Morning DIY Radio show, Digital Music Studio, ไปเรียนร่วมที่ Temasek Polytehcnic, 3D Animation
•ผลงานของโรงเรียน(ครูใหญ่ ครู นักเรียน)มีมากมาย มีการBench Mark อย่างต่อเนื่อง มีการล่ารางวัลได้มากมาย(เราเห็นภาพเด็กแข่งจรวดขวดน้ำด้วย)
•มุ่งเน้นสอนนักเรียนเรื่องการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม มีการนำนักเรียนออกไปช่วยกันเก็บขยะ
•ตึก อาคารเรียน ห้องปฏิบัติการครบสมบูรณ์มาก มีห้องคอมพิวเตอร์ ๕ ห้อง
เป็นไงครับ มีความเห็นอย่างไรเข้ามาแสดงความเห็นด้วย หากจะบอกว่าเขามีงบประมาณสนับสนุนมากพอก็ไม่ผิดนัก อยู่ที่ว่าในบริบทที่เรามีเราทำอะไรได้บ้าง เราจะปรับองค์ความรู้เหล่านี้มาใช้ได้เพียงใด จริงใหมครับ

บรรจง ปัทมาลัย ๒๔ ต.ค. ๗.๐๑ น.