รศ.ดร.นันทนา คชเสนี ผู้อำนวยการบริหารเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน (เอยูเอ็น
นันทนา” เผยไทยอ่อนอังกฤษ ติดอันดับ 42 จาก 44 ทั่วโลก
ภาพประกอบข่าวจากอินเทอร์เน็ต
ผอ.เครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน เผยผลสำรวจระดับโลกย้ำไทยอ่อนอังกฤษ
ชี้ภาวะตื่นตัวเพื่อเข้าสู่อาเซียนของไทยน่าเป็นห่วง แนะทุกฝ่ายร่วมมือเดินหน้าพัฒนา
รศ.ดร.นันทนา คชเสนี ผู้อำนวยการบริหารเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน (เอยูเอ็น)
เปิดเผยว่า การเตรียมพร้อมของประเทศไทยในการเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียนอยู่ใน
ภาวะที่น่าเป็นห่วง แม้หลายหน่วยงานมีความตื่นตัวแต่ยังไม่มีการรวมตัวกันเพื่อเป้าหมาย
ที่ชัดเจนในการพัฒนาอย่างเป็นองค์รวม โดยเฉพาะในวงการศึกษาไทยตนมองว่าขณะนี้
มีเวลาไม่มากแล้วสำหรับการปรับเปลี่ยนเพื่อพัฒนาการศึกษาที่มีคุณภาพสู่ระดับสากล
สิ่งสำคัญ คือ การมีนโยบายระยะยาวที่ได้รับการสนับสนุนอย่างจริงจังและต่อเนื่อง
เช่น นโยบายการพัฒนาคุณภาพบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
หรือ TQF ซึ่งจะทำให้ได้บัณฑิตที่พึงประสงค์เหมาะกับตลาดอาเซียน และนโยบายการเพิ่มง
งบประมาณงานวิจัยให้ได้ร้อยละ 2 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี)
เพื่อเป้าหมายการพัฒนาระยะยาว ขณะเดียวกัน ในส่วนของสถาบันการศึกษาควร
มีการจัดกลุ่มเพื่อค้นหาศักยภาพและเน้นการพัฒนาคุณภาพการศึกษา เช่น มหาวิทยาลัยทุกแห่งลุกขึ้นมาร่วมกันหาจุดเด่นและจุดแข็งของตัวเอง เพื่อสร้างความเป็นเลิศทางการศึกษาเฉพาะทางนำสู่สายตาประชาคมอาเซียน เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม ผลสำรวจอย่างเป็นทางการจากหลายหน่วยงานระดับโลกที่เผยแพร่ในปัจจุบัน นำมาใช้เป็นฐานข้อมูลสำหรับการพัฒนา
และแก้ไขข้อบกพร่องได้ เช่น ผลสำรวจล่าสุดในปี 2012 ของธนาคารโลก (เวิลด์แบงก์) เกี่ยวกับทักษะแรงงานอาเซียน
ที่นายจ้างจาก 200 บริษัทในประเทศอาเซียนให้ข้อมูล พบว่า แรงงานไทยมีความโดดเด่นในเรื่องทัศนคติในการทำงาน
เมื่อเปรียบเทียบกับแรงงานมาเลเซีย ขณะที่มีทักษะด้านภาษาอังกฤษเป็นจุดด้อยมากที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับแรงงานอินโดนีเซีย
เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีผลสำรวจด้านทักษะภาษาอังกฤษจาก 44 ประเทศทั่วโลก จัดทำโดยโรงเรียนสอนภาษาระดับโลก เอดูเคชันเฟิสต์ หรือ อีเอฟ (EF) พบว่า ประเทศไทยอยู่ในลำดับที่ 42 รองจากกัมพูชาที่อยู่ลำดับที่ 41 เวียดนาม ลำดับที่ 39 และอินโดนีเซีย ลำดับที่ 34 ขณะที่มาเลเซีย อยู่ในลำดับที่ 9 อย่างไรก็ตามยังมีอีกหลายผลสำรวจที่ช่วยสะท้อนสภาพความเป็นจริงซึ่งทุกฝ่ายต่างทราบกันดีอยู่แล้ว สิ่งที่เห็นเวลานี้ คือ หน่วยงานต่างๆ ยังมัวแต่ทำการวิจัยหรือสำรวจการเตรียมความพร้อมแบบต่างคนต่างทำ
ซึ่งส่วนตัวเห็นว่าไม่จำเป็นแล้ว เพราะเราไม่มีเวลาแล้ว ดังนั้นไม่จำเป็นต้องมีการจัดทำการสำรวจหรือวิจัยเพื่อ
เตรียมความพร้อมหรือหาจุดด้อยต่างๆ อีกต่อไป แต่ควรหันมาจับมือกันและก้าวไปสู่การพัฒนาที่เห็นเป็นรูปธรรม”
รศ.ดร.นันทนากล่าว ซึ่งสอดคล้องกับการแสดงปรากฐา วิสัยทัศน์ของ คุณ วิกรม กรมดิษฐ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร
กลุ่มบริษัท อมตะ มหาชน น่าเป็นห่วงบัญฑิตไทย พบยังมีข้อด้อยหลาย ๆ ประการ ทั้ง ทักษะการทำงานแบบองค์รวม ความรู้ทางวิชการ
เทคนิคใหม่ ๆ ขาดการกระตือรือรั้น ที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ที่ท้าทาย และ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สื่อภาษาต่างประเทศ การนำเสนอผลงาน การแสดงความคิดเห็น ซึ่งเป็นข้อด้อยที่สำคัญ นอกจากการสนทนา
วันพุธที่ 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555
วันศุกร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555
วันอังคารที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555
กิจกรรม OCOP (One Class One Project) ของ ร.ส. ประจำปี 2555
หลักการ / วิธีคิด
กิจกรรม OPEN HOUSE
โล่รางวัลชนะเลิศ OCOP ในสายชั้น ม.1 ร.ส.
วันจันทร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)