รศ.ดร.นันทนา คชเสนี ผู้อำนวยการบริหารเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน (เอยูเอ็น
นันทนา” เผยไทยอ่อนอังกฤษ ติดอันดับ 42 จาก 44 ทั่วโลก
ภาพประกอบข่าวจากอินเทอร์เน็ต
ผอ.เครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน เผยผลสำรวจระดับโลกย้ำไทยอ่อนอังกฤษ
ชี้ภาวะตื่นตัวเพื่อเข้าสู่อาเซียนของไทยน่าเป็นห่วง แนะทุกฝ่ายร่วมมือเดินหน้าพัฒนา
รศ.ดร.นันทนา คชเสนี ผู้อำนวยการบริหารเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน (เอยูเอ็น)
เปิดเผยว่า การเตรียมพร้อมของประเทศไทยในการเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียนอยู่ใน
ภาวะที่น่าเป็นห่วง แม้หลายหน่วยงานมีความตื่นตัวแต่ยังไม่มีการรวมตัวกันเพื่อเป้าหมาย
ที่ชัดเจนในการพัฒนาอย่างเป็นองค์รวม โดยเฉพาะในวงการศึกษาไทยตนมองว่าขณะนี้
มีเวลาไม่มากแล้วสำหรับการปรับเปลี่ยนเพื่อพัฒนาการศึกษาที่มีคุณภาพสู่ระดับสากล
สิ่งสำคัญ คือ การมีนโยบายระยะยาวที่ได้รับการสนับสนุนอย่างจริงจังและต่อเนื่อง
เช่น นโยบายการพัฒนาคุณภาพบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
หรือ TQF ซึ่งจะทำให้ได้บัณฑิตที่พึงประสงค์เหมาะกับตลาดอาเซียน และนโยบายการเพิ่มง
งบประมาณงานวิจัยให้ได้ร้อยละ 2 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี)
เพื่อเป้าหมายการพัฒนาระยะยาว ขณะเดียวกัน ในส่วนของสถาบันการศึกษาควร
มีการจัดกลุ่มเพื่อค้นหาศักยภาพและเน้นการพัฒนาคุณภาพการศึกษา เช่น มหาวิทยาลัยทุกแห่งลุกขึ้นมาร่วมกันหาจุดเด่นและจุดแข็งของตัวเอง เพื่อสร้างความเป็นเลิศทางการศึกษาเฉพาะทางนำสู่สายตาประชาคมอาเซียน เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม ผลสำรวจอย่างเป็นทางการจากหลายหน่วยงานระดับโลกที่เผยแพร่ในปัจจุบัน นำมาใช้เป็นฐานข้อมูลสำหรับการพัฒนา
และแก้ไขข้อบกพร่องได้ เช่น ผลสำรวจล่าสุดในปี 2012 ของธนาคารโลก (เวิลด์แบงก์) เกี่ยวกับทักษะแรงงานอาเซียน
ที่นายจ้างจาก 200 บริษัทในประเทศอาเซียนให้ข้อมูล พบว่า แรงงานไทยมีความโดดเด่นในเรื่องทัศนคติในการทำงาน
เมื่อเปรียบเทียบกับแรงงานมาเลเซีย ขณะที่มีทักษะด้านภาษาอังกฤษเป็นจุดด้อยมากที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับแรงงานอินโดนีเซีย
เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีผลสำรวจด้านทักษะภาษาอังกฤษจาก 44 ประเทศทั่วโลก จัดทำโดยโรงเรียนสอนภาษาระดับโลก เอดูเคชันเฟิสต์ หรือ อีเอฟ (EF) พบว่า ประเทศไทยอยู่ในลำดับที่ 42 รองจากกัมพูชาที่อยู่ลำดับที่ 41 เวียดนาม ลำดับที่ 39 และอินโดนีเซีย ลำดับที่ 34 ขณะที่มาเลเซีย อยู่ในลำดับที่ 9 อย่างไรก็ตามยังมีอีกหลายผลสำรวจที่ช่วยสะท้อนสภาพความเป็นจริงซึ่งทุกฝ่ายต่างทราบกันดีอยู่แล้ว สิ่งที่เห็นเวลานี้ คือ หน่วยงานต่างๆ ยังมัวแต่ทำการวิจัยหรือสำรวจการเตรียมความพร้อมแบบต่างคนต่างทำ
ซึ่งส่วนตัวเห็นว่าไม่จำเป็นแล้ว เพราะเราไม่มีเวลาแล้ว ดังนั้นไม่จำเป็นต้องมีการจัดทำการสำรวจหรือวิจัยเพื่อ
เตรียมความพร้อมหรือหาจุดด้อยต่างๆ อีกต่อไป แต่ควรหันมาจับมือกันและก้าวไปสู่การพัฒนาที่เห็นเป็นรูปธรรม”
รศ.ดร.นันทนากล่าว ซึ่งสอดคล้องกับการแสดงปรากฐา วิสัยทัศน์ของ คุณ วิกรม กรมดิษฐ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร
กลุ่มบริษัท อมตะ มหาชน น่าเป็นห่วงบัญฑิตไทย พบยังมีข้อด้อยหลาย ๆ ประการ ทั้ง ทักษะการทำงานแบบองค์รวม ความรู้ทางวิชการ
เทคนิคใหม่ ๆ ขาดการกระตือรือรั้น ที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ที่ท้าทาย และ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สื่อภาษาต่างประเทศ การนำเสนอผลงาน การแสดงความคิดเห็น ซึ่งเป็นข้อด้อยที่สำคัญ นอกจากการสนทนา